วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

แรกเริ่มของการถ่ายภาพ


วิวัฒนาการของการถ่ายภาพ

      ก่อนที่จะมีเทคโนโลยีการถ่ายภาพ มนุษย์ได้ใช้วิธีการวาดภาพให้เหมือนจริงเพื่อบันทึกความทรงจำ และใช้ในการสื่อความหมาย ซึ่งการวาดภาพให้เหมือนจริงต้องใช้เวลานานและได้ภาพที่ไม่เหมือนจริงตามธรรมชาติ
     จนในที่สุดในศตวรรษที่ 19 มนุษย์ก็ประสบความสำเร็จ ในการคิดค้นกระบวนการสร้างภาพ จากผลของการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ ที่ได้พัฒนาความรู้จากศาสตร์ 2 ศาสตร์ คือ สาขาฟิสิกส์ ได้แก่ เรื่องของแสงและกล้องถ่ายภาพ และสาขาเคมี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฟิล์ม สารไวแสง และน้ำยาสร้างภาพ

กำเนิดกล้องถ่ายภาพชนิดแรก

  แนวคิดในการถ่ายภาพนั้นเริ่มมาเป็นเวลานานแล้ว โดยมาจากสมัยพวกชนเผ่าแร่ร่อนในอียิปต์ ซึ่งท่องเที่ยวกลางเต้นท์อยู่ในทะเลทราย เมื่อถึงเวลาบ่ายแดดร้อนจัดก็หยุดเดินทางเข้าไปพักผ่อนในเต้นท์ซึ่งมืด และได้สังเกต เห็นแสงของดวงอาทิตย์ลอดผ่านรูเต้นท์มากระทบวัตถุแล้วทำให้เกิดเงาเป็นรูปร่างขึ้นที่ผนังอีกด้านหนึ่ง โดยได้เงาหัวกลับ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักหรือกฎเบื้องต้นของการถ่ายรูป
เมื่อประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตศักราช อริสโตเติล นักปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกได้บันทึกไว้ว่า หากเราปล่อยให้ผ่านเข้าไปทางช่องเล็กๆ ในห้องมืด แล้วถือกระดาษขาวให้ห่างจากช่องรับแสงประมาณ 15 ซ.ม. จะปรากฏภาพบนกระดาษ ลักษณะเป็น ภาพจริงหัวกลับแต่ไม่ชัดเจนนัก   สิ่งที่เขาค้นพบนั้น ถือว่าเป็นกฎของกล้องออบสคิวร่า (camera obscura เป็นภาษาลาติแปลว่า "ห้องมืด") และคงรักษาไว้หลายร้อยปีต่อมา
                                                            หลักการของกล้อง camera obscura
ค.ศ. 1490 ลีโอนาโด ดาวินชี นักวิทยาศาสตร์และศิลปินชาวอิตาลี่ได้บันทึกคำอธิบายเกี่ยวกับหลักการทำงานของกล้องออบสคิวร่า ทำให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าใจหลักการทำงานของกล้องมากขึ้น โดยเฉพาะพวกจิตรกรสนใจนำกล้องไปช่วยในการวาดภาพลอกแบบ เพื่อให้ได้ภาพในเวลารวดเร็วและมีสัดส่วนเหมือนจริง

                                            จิตรกรสมัยโบราณใช้หลักการ obscura เพื่อช่วยในการวาดภาพ






                                                                วิวัฒนาการของกล้อง obscura

สารไวแสงกับการคงสภาพของภาพถ่าย


         แม้จะมีการค้นพบหลักการ camara obcura ที่ทำให้ภาพเหมือนจริงมาปรากฏบนฉากได้ตามต้องการมานานกว่า 2 พันปี แต่คนในสมัยโบราณไม่สามารถคงสภาพของภาพนั้นให้คงอยู่ได้อย่างถาวร จนกระทั่ง ใน พ.ศ. 2370 โจเซฟ เนียฟ (Joseph Nicéphore Niépce) ได้ประสบความสำเร็จในการคงสภาพ เขาใช้แผ่นดีบุกผสมตะกั่วฉาบด้วยสารบิทูเมนถ่ายภาพตึกซึ่งอยู่ตรงข้ามกับห้องทำงานในบ้านของเขาที่ด้วยกล้องออบสคูรา โดยใช้เวลานาน 8 ชั่วโมง ภาพที่ได้เป็นโพสิตีฟคือส่วนที่ถูกแสงจะเป็นสีจางลงและแข็งตัว ส่วนที่ไม่ถูกล้างออกจึงเป็นสีดำ ซึ่งเป็นสีของแผ่นดีบุกผสมตะกั่วนั่นเองภาพถ่ายนี้ นับเป็นภาพถ่าย ภาพแรกของโลกที่หลงเหลืออยู่
                                                             โจเซฟ เนียฟ และภาพถ่ายภาพแรก

ใน พ.ศ. 2369 ดาแกร์ได้เขียนจดหมายติดต่อกับเนียฟ ถึงเรื่องการค้นคว้าเกี่ยกวับกระบวนการถ่ายภาพของเขา และใน พ.ศ.2370 ขณะที่เนียฟมีโอกาสเดินทางไปกรุงปารีส จึงได้ไปพบดาแกร์และพูดคุยเกี่ยวกับการทดลองค้นคว้า เขาทั้งสองได้ติดต่อกันเรื่อยมา จนกระทั่งใน พ.ศ.2372 เขาจึงได้ทำสัญญาร่างหุ้นกัน เพื่อทำให้กระบวนการเฮลิโอกราฟที่เนียฟคิดค้นสมบูรณ์แบบ โดยมีกำหนด 10 ปี แต่ดำเนินการได้เพียง 4 ปี เนียฟก็ถึงแก่กรรมใน พ.ศ.2376 ดาแกร์จึงได้ดำเนินหุ้นกับลูกชายของเนียฟต่อไป
ใน พ.ศ.2378 เขาได้สังเกตเห็นเพลทซึ่งเขาถ่ายไว้หลายวันในตู้ มีภาพปรากฏเขาค้นพบต่อมาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลมากจากไอปรอทของเทอร์โมมิเตอร์ที่แตกหลอดหนึ่ง แต่ภาพที่ปรากฏนั้น ยังไม่ถาวรเขาจึงได้ทำการค้นคว้าต่อ โดยนำกระบวนการเฮลิโอกราฟของเนียฟไปร่วมกับกระบวนการ ไดโอรามาของเขาต่อมาใน พ.ศ.2380 เขาก็ได้ประสบความสำเร็จ ในการทำภาพให้ติดถาวรได้ด้วยการใช้สารละลายเกลือธรรมดา (Common salt) และเรียกกระบวนการนี้ว่า ดาแกร์โรไทฟ์ (Daguerreotype)  

              กล้องดาแกร์โรไทฟ์ และภาพที่มีชื่อเสียงของเอ็ดการ์ อัลลัน โพ ถ่านโดยกระบวนการดาแกร์โรไทพ์ในปี พ.ศ. 2391ไม่นานก่อนเขาเสียชีวิต
http://vimeo.com/63639523 VDO กระบวนการถ่ายภาพ Daguerrotype (ดาแกโรไทป์) ตั้งแต่ถ่ายจนกระทั่งออกมาเป็นภาพ ซึ่งเป็นวิธีการถ่ายภาพของกล้องตัวแรกของโลกคิดค้นโดยนายดาแกร์ ชาวฝรั่งเศส

     ในเวลาต่อมา วิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ แทลบอต ( William Henry Fox Talbot ) ชาวอังกฤษ ได้ค้นพบว่า เงินคลอไรด์”( Silver Chloride ) เป็นสารที่มีความไวต่อแสงสว่าง ซึ่งสามารถฉาบลงบนกระดาษได้ ทำให้ได้กระดาษไวแสงที่จะนำไปอัดภาพ เขาได้ทดลองนำใบไม้ ขนนก มาวางทับกระดาษไวแสง พบว่า ส่วนที่วัตถุทับอยู่จะเป็น สีขาวแต่ส่วนที่ถูกแสงสว่างจะเป็นสีดำ เมื่อนำไปล้างในสารละลายเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ ได้ภาพที่เรียกว่า ภาพPhotogenic Drawing” ที่มีลักษณะเป็นสีตรงข้ามกับต้นแบบคือ ขาวเป็นดำ และดำเป็นขาว หรือที่เรียกว่า "ภาพเนกาตีฟ" ในปัจจุบัน ซึ่งแทลบอตใช้เป็นต้นแบบในการอัดภาพ ภาพต่อๆ มาจะเป็นภาพโพสิตีฟ ฉะนั้นวิธีการของแทลบอตจึงดีกว่ากระบวนการของดาร์แกโรไทพ์ ตรงที่สามารถอัดภาพได้หลายภาพตามต้องการ แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่เมื่อเก็บไว้นาน ๆ สีของภาพจะซีดจางลง


                                                        วิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ แทลบอต ( William Henry Fox Talbot ) 

     ระยะต่อมาการถ่ายภาพกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปสนใจและผู้ที่ทำให้การถ่ายรูปอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปมากขึ้นคือ George Eastman เขาได้จัดขายกล้องที่มีฟิล์มม้วนบรรจุอยู่ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งหมายถึงว่าผู้ที่ซื้อกล้องจะซื้อกล้องที่มีฟิล์มใส่ไว้เรียบร้อยแล้ว และเมื่อถ่ายเสร็จก็ส่งไปให้บริษัทของ Eastman จัดการเปลี่ยนฟิล์มใหม่ และล้างอัดขยายภาพจากเนกาทีฟที่ดีให้ด้วย Eastman ตั้งชื่อบริษัทว่า "Kodak" ซึ่งเขาบอกว่าชื่อที่ตั้งนี้ฟังเสียงคล้ายเสียงกดชัดเตอร์ของกล้อง
     นอกจากนี้ Eastman ยังมีบทบาทที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ในปี ค.ศ.1895 เขาได้เปลี่ยนฟิล์มจากฟิล์มกระดาษธรรมดามาเป็นฟิล์มโปร่งแสงซึ่งทำด้วยเซลลูลอยด์ทำให้ฟิล์มทนทานขึ้น และผู้ถ่ายก็สามารถใส่ฟิล์มได้เอง การล้างอัดขยายภาพก็กว้างขวางออกไป โดยมีร้านขายยารับทำหน้าที่นี้ด้วย จนกระทั่งการถ่ายภาพได้รับความนิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชนคนทั่วไป

                                          George Eastman ผู้ให้กำเนิดกล้อง Kodak  และก่อตั้งบริษัทในปี 1888
---------------------------------
ลำดับเหตุการณ์สำคัญ

1900 หรือประมาณหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา โกดักก็เปิดตัวกล้องถ่ายภาพรุ่น Brownie สามารถโหลดฟิล์มได้ และมีช่องมองภาพเป็นอุปกรณ์เสริมใส่ไว้ทางด้านบน ราคากล้องรุ่นนี้เพียง 1 ดอลล่าร์สหรัฐได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ก็เป็นกล้องที่หายากมากในปัจจุบันการ 

ค.ศ. 1970 ระบบถ่ายภาพดิจิตอลถือกำเนิดขึ้นเมื่อมีการคิดค้น CCD สำหรับใช้บันทึกในกล้องวิดีโอ   ถัดมาอีกเพียงปีเดียวก็มีการส่งข้อความทาง อีเมล์เป็นครั้งแรกของโลก โดย Ray Tomlinsn 

1974 ก็มีการใช้เทคโนโลยี CCD ร่วมกับกล้องเทเลสโคบขนาด 8 นิ้ว บันทึกภาพดวงจันทร์ด้วยระบบดิจิตอลเป็นภาพแรกที่ความละเอียด 100 x 100 พิกเซล 

1976 Canon ได้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพ 35 มม. SLR ตัวแรกของโลกที่มีไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น AE-1 สำหรับการประมวลผลและควบคุมการทำงาน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกล้องระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบในวันนี้ อีกห้าปีต่อมา Pentax ก็ผลิตกล้องรุ่น ME-F ที่ใช้เลนส์ออโต้โฟกัสในกล้อง SLR เป็นตัวแรกของโลก 

1981 Sony เปิดตัวกล้องถ่ายภาพที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ ถ่ายภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ต้องใช้ฟิล์ม แต่ยังไม่ใช่กล้องดิจิตอล เป็นเพียงกล้องโทรทัศน์หรือกล้องภาพนิ่งวิดีโอ จัดเก็บภาพด้วยแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 2 นิ้ว ใช้ชื่อว่า Sony Mavica (Megnetic Video Camera) บันทึกด้วย CCD ให้ภาพที่มีความละเอียด 570 x 490 พิกเซล (ขนาดของชิพคือ 10 x 12 มม.) ความไวแสงเทียบเท่า ISO 200 ปี

1984 Canon ได้ทดลองใช้กล้องภาพนิ่งวิดีโอระดับมืออาชีพเป็นครั้งแรกในโอลิมปิกที่ลอสแองเจอลิส หลังจากบันทึกภาพแล้วมีการส่งภาพกลับไปที่ประเทศญี่ปุ่นผ่านทางสายโทรศัพท์ในเวลาที่ต่ำกว่า 30 วินาที จากนั้นก็พิมพ์เป็นภาพข่าวในหนังสือพิมพ์ Yomiuri ซึ่งพิมพ์ออกจำหน่ายในขณะที่การแข่งขันยังไม่เสร็จสิ้น สร้างความฮือฮาได้เป็นอย่างมาก

1986 หรืออีกสองปีต่อมา Canon ก็ผลิตกล้องภาพนิ่งวิดีโอออกจำหน่ายให้กับนักถ่ายภาพมืออาชีพเป็นครั้งแรก ในรุ่น RC-701 โดยมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ช่างภาพข่าวเป็นหลัก ช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น โดยชื่อรุ่น RC มาจากคำว่า Realtime Camera หรือกล้องที่ได้ภาพทันทีนั่นเอง มีเลนส์ซูมขนาด 11-66 มม. f/1.2 ราคา 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ถ้ารวมอุปกรณ์รับส่งภาพทางสายโทรศัพท์ครบชุดจะมีราคา 27,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ขนาดของ CCD คือ 6.6 x 8.8 มม. ความละเอียด 187,200 พิกเซล ถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว 1-10 เฟรม/วินาที ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้และกล้องรุ่นนี้ได้ถูกช่างภาพข่าว Tom Dillon ของหนังสือพิมพ์ USA Today ถ่ายภาพและตีพิมพ์เป็นภาพข่าวสีภาพแรกที่บันทึกด้วยกล้้องภาพนิ่งวิดีโอ โดยบรรณาธิการภาพข่าวได้เห็นภาพดังกล่าวหลังจากที่ช่างภาพบันทึกไปแล้วในเวลาเพียง 12 นาทีเท่านั้น ทางสมาคมนักข่าวของอเมริกาเล็งเห็นประโยชน์ของภาพดิจิตอลกับงานข่าวจึงวางแผนที่จะเปลี่ยนการส่งภาพข่าวจากระบบอะนาล็อกมาเป็นดิจิตอล
เพราะช่วยประหยัดเวลาในการส่งภาพได้ถึง90% ทีเดียว

1987 Minolta ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ด้วยการออกแบบดิจิตอลแบคสำหรับใช้กับกล้องรุ่น 7000 และ 9000 ซึ่งเป็นกล้องใช้ฟิล์ม โดยใช้ CCD รับภาพขนาด 2/3 นิ้ว ความละเอียด 640 x 480 พิกเซลในชื่อรุ่น Minolta SB-70S และSB-90S 

นับจากนั้นเป็นต้นมาผู้ผลิตกล้องถ่ายภาพและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างให้ความสนใจและผลิตกล้องถ่ายภาพนิ่งวิดีโออย่างต่อเนื่อง เช่น โอลิมปัสผลิตกล้องรุ่น V-100 ในปี 1987 ใช้ CCD ขนาด 1/2 นิ้ว ความละเอียด 360 K เลนส์ซูม 9-27 มม. f/2.8 ความไวแสง ISO 100 ปี 1988 Fujifilm ผลิตกล้องภาพนิ่งวิดีโอ รุ่น DS-1P ที่จัดเก็บภาพด้วยการ์ดดิจิตอลแทนที่แผ่นฟล็อปปี้ดิสก์เป็นครั้งแรกด้วย CCD ความละเอียด 400K เลนส์ 16 มม. f/5.6 
ต่อมาภาพอิเล็กทรอนิกส์เริ่มมีความละเอียดที่สูงขึ้น จึงมีการกำหนดมาตรฐานของไฟล์ภาพเพื่อให้มีขนาดที่เล็กลง ใช้เนื้อที่การจัดเก็บน้อยและส่งภาพได้รวดเร็วขึ้น โดย Joint Photographic Expert Group มีชื่อย่อว่า JPEG กำหนดมาตรฐานนี้ในปี 1988

1991 NiKon ผลิตกล้องภาพนิ่งวิดีโอแบบ SLR เป็นครั้งแรกในจำนวน 100 ชุด ใช้เซ็นเซอร์ CCD ขนาด2/3 นิ้ว ความละเอียด 380 K ความไวแสง ISO 400-1600 เลนส์ซูม 10-40 มม. f/1.4 หรือเลนส์เม้าท์ F ร่วมกับอะแดปเตอร์ บันทึกภาพแบบโมโนโครมหรือขาวดำ ราคา 20,300 US

 1990 Logitech FotoMan ได้ผลิตกล้องดิจิตอลเป็นตัวแรกของโลกในชื่อรุ่น Dycam Model 1 บันทึกภาพขาวดำได้ 32 ภาพ เก็บไว้ในหน่วยความจำขนาด 1 MB ที่อยู่ในตัวกล้อง ด้วยเซ็นเซอร์ภาพ CCD ขนาด 1/3 นิ้ว ให้ขนาดภาพ 376 x 240 พิกเซล เลือกฟอร์แมทภาพได้ 2 แบบ คือ TIFF หรือ PICT เลนส์ขนาด 8 มม. มีแฟลชในตัว สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์พีซีเพื่อโหลดภาพได้

 1990 ในงาน Photokina โกดักได้เรียกความฮือฮาให้กับวงการถ่ายภาพอาชีพ ด้วยการเปิดตัวกล้องดิจิตอลรุ่น DCS-100 เป็นกล้อง SLR ที่นำเอา Nikon F3 มาดัดแปลงวางจำหน่ายในปี 1991 ด้วยราคา 30,000 ดอลล่าร์สหรัฐ กล้องรุ่นนี้ใช้เซ็นเซอร์ CCD ความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซล ขนาดภาพใหญ่สุด 1024 x 1280 พิกเซล ซึ่งถือว่าสูงมากในยุคนั้น จุดเด่นของกล้องรุ่นนี้คือใช้คุณสมบัติของกล้อง F3 ซึ่งเป็นกล้อง SLR ระดับมืออาชีพ ความไวในการรับแสงเทียบเท่า ISO 100 ใช้เลนส์เม้าท์ Nikon ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ปรับโฟกัสแบบแมนนวล การใช้งานต้องต่อสายเคเบิลเข้ากับชุดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายนอกที่มีหน่วยความจำขนาด 200 MB มีให้เลือก 2 รุ่นคือบันทึกภาพสีและขาวดำ ชุดอุปกรณ์ภายนอกมีปุ่มควบคุมการทำงานและจอมอนิเตอร์ขาวดำ ทำให้เห็นภาพได้ทันทีหลังจากถ่ายภาพไปแล้ว โดยซูมขยายภาพเพื่อดูรายละเอียดต่างๆได้ด้วย

 1991 โกดัก เปิดตัวดิจิตอลแบคสำหรับกล้องขนาดกลาง Hasselblad เพื่องานถ่ายภาพในสตูดิโอแทนการใช้ฟิล์ม โดยใช้กับกล้องรุ่น 553 ELX ที่มีมอเตอร์ในตัวใช้เซ็นเซอร์ CCD ความละเอียดสูง ขนาดภาพที่ได้คือ 2048 x 2048 พิกเซล ความไวแสง ISO 300 ชัตเตอร์ 1-1/125 วินาที แสดงสีได้ 14 บิต/สี ใช้อินเทอร์เฟสแบบ SCSI 2 เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แมคอินทอชรุ่น Quadra

1992 โกดัก เปิดตัวกล้องดิจิตอล SLR ใหม่อีกครั้งใน Photokina โดยใช้บอดี้ Nikon F801s ที่เป็นกล้องระบบออโต้โฟกัส กล้องรุ่นนี้มีฮาร์ดไดรว์ที่ใช้จัดเก็บภาพในตัว ขนาดจึงดูใหญ่โตโดยมีฐานบอดี้ที่สูงขึ้นมาก มีให้เลือก 2 รุ่น คือ DCS 200C ถ่ายภาพสีและ DCS 200M ถ่ายภาพขาวดำ ความละเอียด 1.54 ล้านพิกเซล ใช้ได้กับเลนส์และแฟลชของ Nikon แต่ต้องคูณทางยาวโฟกัสเพิ่มเนื่องจาก CCD มีขนาดเล็กมาก หากใช้เลนส์ 28 มม. จะเทียบเท่ากับเลนส์ 80 มม.ของกล้อง 35 มม. ความไวแสง ISO 50-400 สำหรับภาพสีและ ISO 100-800 สำหรับกล้องขาวดำ

1994 Apple Computer ได้สร้างความตื่นตัวให้กับวงการถ่ายภาพด้วยการเปิดตัวกล้องดิจิตอลรุ่นแรกของโลกที่ออกแบบสำหรับผู้ใช้ทั่วๆไปอาชีพมาก ใช้ชื่อรุ่นว่า Apple Quick Take 100 ราคาจำหน่ายเพียง 749 ดอลล่าร์สหรัฐ (เวลานั้นค่าเงินบาทไทยประมาณ 25บาท/ดอลล่าร์สหรัฐ) ใช้เซ็นเซอร์ CCD ความละเอียด 640 x 480 หรือประมาณสามแสนพิกเซล เปิดชมภาพจากคอมพิวเตอร์พีซีได้เต็มจอมอนิเตอร์พอดี เลนส์มีขนาดคงที่ 50 มม. มีแฟลชในตัวจัดเก็บภาพด้วยหน่วยความจำในตัวกล้อง
ปีเดียวกันโกดักก็เปิดตัวกล้องดิจิตอล SLR รุ่นใหม่ NC 2000 ใช้บอดี้ Nikon F90 ซึ่งเป็นกล้องออโต้โฟกัสระดับมืออาชีพ ออกแบบมาสำหรับนักข่าวโดยเฉพาะ ใช้ CCD ขนาดภาพ 1024 x 1280 พิกเซล ความไวแสงเทียบเท่า ISO 200-1600 ทำให้วงการหนังสือพิมพ์เริ่มเปลี่ยนมาใช้กล้องดิจิตอลกันขนานใหญ่ โดยจำหน่ายในราคา 16,950 ดอลล่าร์สหรัฐ ต่อมาก็เปลี่ยนไปใช้บอดี้ Nikon F90x ใช้ชื่อรุ่นว่า DCS 420
ค่ายฟูจิฟิล์มก็ร่วมมือกับนิคอนเปิดตัวกล้องดิจิตอล SLR เช่นกันในชื่อรุ่น Fuji DS-505 และ DS-515 ส่วน Nikon ใช้ชื่อรุ่น E2 และ E2S ใช้ CCD ขนาด 2/3 นิ้ว ขนาดภาพ 1280 x 1000 พิกเซล ความไวแสงสูงสุด ISO 800 และ 1600 

1995 Kodakได้ปลุกกระแสทางด้านภาพดิจิตอลครั้งใหญ่ โดยการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ของโกดักที่เรียกว่า โฟโต้ซีดี เพียงส่งฟิล์มเนกาตีฟสีหรือฟิล์มสไลด์สีไปสแกนลงแผ่นซีดีรอม ก็จะได้ภาพดิจิตอลสำหรับนำมาใช้งานทันที ซึ่งในปีเดียวกันนิตยสารชัตเตอร์ฯ ก็ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับ โฟโต้ซีดี ด้วยการนำภาพจากฟิล์มสไลด์ไปทำเป็นโฟโต้ซีดีแล้วนำภาพมารีทัชซ้อนฉากหลังเข้าไป จากนั้นตีพิมพ์เป็นภาพหน้าปก
ปีเดียวกันโกดักร่วมมือกับแคนนอนเป็นครั้งแรกในการผลิตกล้องดิจิตอล SLR ในชื่อรุ่น EOS DCS 3 ใช้บอดี้ EOS-1N ซึ่งเป็นกล้องระดับมืออาชีพรุ่นสูงสุดของแคนนอนในยุคนั้น โดยใช้เซ็นเซอร์ภาพขนาด 16.4 x 20.5 มม. ความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซล แสดงสีได้ 36 บิต (RGB) ขนาดภาพ 1268 x 1012 พิกเซล ความไวแสง ISO 200 - 1600 และอีกรุ่นคือ EOS DCS - 1 เป็นกล้องที่มีความละเอียดสูงมากถึง 6 ล้านพิกเซล ใช้ CCD ขนาด 18.4 x 27.6 มม. ขนาดภาพ 3,060 x 2,036 พิกเซล จัดเก็บภาพด้วยฮาร์ดดิสก์ชนิดถอดออกได้ ความจุ 340 MB บันทึกภาพความละเอียดสูงได้ 53 ภาพ
ปีเดียวกัน Casio ได้เปิดตัวกล้องดิจิตอลสำหรับผู้ใช้ทั่วๆไปที่มีจอมอนิเตอร์ในตัวเป็นรุ่นแรกของโลก จุดเด่นที่ไม่เหมือนใครคือส่วนของเลนส์ปรับพลิกหมุนได้ ใช้เซ็นเซอร์ CCD ขนาด 1/5 นิ้ว ความละเอียด 460 x 280 พิกเซล มีหน่วยความจำในตัวจัดเก็บภาพได้ 96 ภาพ มีช่องวิดีโอสำหรับเปิดชมภาพจากโทรทัศน์หรือเครื่องบันทึกวิดีโอเปิดชมภาพได้จากจอมอนิเตอร์ เลือกดูทีละภาพหรือภาพเล็ก 4/9 ภาพ
ทางด้านฟูจิฟิล์มก็เปิดตัวกล้องดิจิตอลรุ่น DS-220 ระบบออโต้โฟกัสมีเลนส์ซูมในตัวขนาด 36 x 72 มม. มีแฟลชในตัวใช้ CCD ขนาดภาพ 640 x 480 พิกเซล และมีอุปกรณ์เสริมเป็นจอมอนิเตอร์สำหรับดูภาพต่อเข้าทางด้านข้าง

สำหรับ Minolta ได้เปิดตัวกล้องดิจิตอล SLR ในรุ่น RD - 175 ใช้บอดี้จากกล้อง 35 มม. SLR รุ่น 500si เซ็นเซอร์ภาพ CCD ความละเอียด 380 K ขนาดภาพ 1528 x 1146 พิกเซล ใช้ได้กับเลนส์ และแฟลชของ Minolta

Ricoh ผู้ผลิตกล้องถ่ายภาพอีกรายได้ผลิตกล้องดิจิตอลที่สร้างความแปลกใหม่ ในรุ่น RDC-1 เป็นกล้องตัวแรกของโลกที่ถ่ายได้ทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง มีจอมอนิเตอร์ LCD ขนาดใหญ่ถึง 2.5 นิ้ว จัดเก็บภาพ และเสียงด้วยพีซีการ์ดขนาด 24 MB

1996 นับเป็นปีที่มีกล้องดิจิตอลจากผู้ผลิตรายต่างๆ มากขึ้น อาทิ Agfa ePhoto 307 ความละเอียด 3 แสนพิกเซล Canon PowerShot 600 เซ็นเซอร์ CCD ขนาด 1/3 นิ้ว ความละเอียด 5 แสนพิกเซล Casio QV - 300 ความละเอียด 3 แสนพิกเซล Kodak DC 20 กล้องดิจิตอล ราคาประหยัด ความละเอียด 1.8 แสนพิกเซล มีหน่วยความจำในตัวขนาด 1 MB Fuji DS - 8 เซ็นเซอร์ 1/3 นิ้ว ความละเอียด 3 แสนพิกเซล

ส่วนกล้องคอมแพคความละเอียดสูงก็มี Kodak DC - 120 ความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซล มีจอมอนิเตอร์ทางด้านหลัง เลนส์ซูมขนาด 38 - 114 มม. f/2.5 นอกจากนี้ Konica และ Kyocera ก็ได้เปิดตัวกล้องดิจิตอลของตัวเองเป็นครั้งแรกในปีนี้ โดยมีความละเอียด 3 แสนพิกเซล หรือ 640 x 480 พิกเซล เหมือนกล้องคอมแพคดิจิตอลทั่วๆไป

Nikon ก็สร้างความแปลกใหม่ด้วยการเปิดตัวกล้อง Coolpix 100 เซ็นเซอร์ 1/3 นิ้ว ใช้ CCD ที่ให้ขนาดภาพ 512 x 480 พิกเซล เลนส์ 52 มม. หลังจากถ่ายภาพแล้วนำกล้องไปเสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ทางช่อง PCMCIA เพื่อโหลดภาพได้ทันที และมีรุ่น Coolpix 300 ความละเอียด 3 แสนพิกเซล มีจอมอนิเตอร์ทางด้านหลัง

ในปีเดียวกันนี้ Olympus ได้เปิดตัวกล้องดิจิตอลรุ่น D - 200 L ใช้ CCD ความละเอียด 3 แสนพิกเซล และรุ่นอื่นๆอีกหลายรุ่น รวมทั้งรุ่น 800 L ที่มีความละเอียด 8 แสนพิกเซล ซึ่งชัตเตอร์ฯก็ได้นำมาทดสอบและตีพิมพ์เป็นบทความในปีนี้

ส่วนกล้องความละเอียดระดับล้านพิกเซลก็มีของ Polaroid รุ่น PDC-2000

1997 เป็นปีที่มีกล้องดิจิตอลจากผู้ผลิตนับสิบยี่ห้อ ทั้งจาก Nikon, Canon, Minolta, Olympus, Kodak, Fujifilm, Casio, Epson, Konica, Kyocera, Panasonic, Ricoh, Samsung, Sanyo, Sony, Sharp, Toshiba, Vivitar และอื่นๆอีกมากมาย กล้องส่วนใหญ่ให้ขนาดภาพ 640 x 480 พิกเซล มีเพียงบางรุ่นที่เกิน 1 ล้าน พิกเซล เช่น Olympus Camedia C-1400L ความละเอียด 1.4 ล้านพิกเซล ออกแบบรูปทรงเป็นตัวแอล (L) คล้ายกับกล้อง SLR Kodak DC210 ความละเอียด 1 ล้านพิกเซล จัดเก็บภาพด้วยการ์ด Fuji DS-300 ความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซล

1998 ในปีนี้กล้องดิจิตอลถูกผลิตขึ้นมากอีกกว่าหนึ่งเท่าตัว ส่วนใหญ่มีความละเอียด 1.2-1.5 ล้านพิกเซล โดยมีกล้องที่โดดเด่นคือดิจิตอล SLR ของโกดักรุ่น DCS 520 ใช้บอดี้ Canon ES1N ความละเอียด 2 ล้านพิกเซลจัดเก็บภาพด้วยฮาร์ดดิสก์ PCMCIA Type III 340 MB

ส่วนกล้องสำหรับผู้ใช้ทั่วไปก็มีของ Canon Pro 70 เป็นกล้องแบบ SLR ที่มีรูปทรงสวยงามทันสมัย เลนส์ซูม 28-70 มม. มีฮอทชูเสียบแฟลชภายนอก ความละเอียด 1.5 ล้านพิกเซล

ทางด้านโซนี่ก็เปิดตัว Mavica FD-71 ที่จัดเก็บภาพด้วยแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ ถ่ายภาพเสร็จนำแผ่นไปเปิดดูที่คอมพิวเตอร์ได้ทันที ความละเอียด 3 แสนพิกเซล และรุ่น FD-91 ความละเอียด 7 ล้านพิกเซล 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น